#

ประโยชน์ที่ประชาชน และภาครัฐ จะได้รับจาก

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

ประชาชน

มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย เหมาะสม และจะถูกใช้หรือเผยแพร่ ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้แต่แรก

ลดความเสียหายความเดือดร้อนอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

มีสิทธิ ในการ รับทราบ วัตถุประสงค์การจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแจ้งชัด อนุญาต/ไม่อนุญาต หรือถอน ความยินยอมให้มีการจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ ข้อมูลส่วนบุคคล ขอเข้าถึง ขอรับสำเนาหรือขอให้ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้ลบ ทำลาย หรือขอให้ระงับ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้

สามารถร้องเรียนและขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากพบว่ามีการใข้ข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้


ภาครัฐ

ทัดเทียมนานาอารยประเทศในด้านกฎหมาย/กฎระเบียบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มีมาตรการกำกับดูแล รวมถึงเครื่องมือกำกับการดำเนินงานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

มีธรรมาภิบาล การดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

สร้างสังคมที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม

ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศ ในด้านประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล







pdpa policy


1. นำนโยบาย แนวปฏิบัติ คู่มือปฏิบัติ และเอกสารต่างๆ ไปใช้ โดยไม่ต้องจัดทำขึ้นใหม่เป็นของหน่วยงานเอง

2. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงสาธารณสุข ให้ผู้รับบริการ ผู้ติดต่อราชการ ได้รับทราบอย่างชัดเจน ผ่านช่องทางสื่อสารทุกช่องทาง

3. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บุคลากรในหน่วยงานถือปฏิบัติและรับทราบโดยทั่วกัน

4. หน่วยงานที่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข/โรงพยาบาล ให้ทำการเพิ่มเติมชื่อหน่วยงาน ในย่อหน้าที่สองของหนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สำหรับการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข) และประกาศ/ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้รับบริการ ผู้ติดต่อราชการได้รับทราบอย่างชัดเจน

5. ทุกหน่วยงานต้องจัดทำบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (ROPA) ตามมาตรา 39 และกรณีโรงพยาบาล สามารถใช้เวชระเบียนแทนบัญชีบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ และใช้ทะเบียนการส่งตัวผู้ป่วย (Refer) แทนบัญชีบันทึกรายการเปิดเผยข้อมูลฯ ได้

6. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

7. ข้อมูลส่วนบุคคลที่หน่วยงานเก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ให้ดำเนินการตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562