ระบบบันทึกผลรังสีวิทยา สำหรับศูนย์ MRI

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา อาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen, H) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น โมเลกุลของน้ำ (H2O) เป็นต้น เมื่อผู้รับการตรวจเข้าไปอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจะส่งสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีความถี่จำเพาะ (Radiofrequency) เข้าไปกระตุ้นระบบอวัยวะที่จะตรวจ เมื่ออวัยวะนั้นๆ ถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานตามขบวนการทางฟิสิกส์ ที่เรียกว่า การกำทอน (Resonance) หลังจากหยุดกระตุ้นไฮโดรเจนอะตอมภายในร่างกายมีการคายพลังงาน จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณที่ได้ออกมา จากนั้นแปลงเป็นสัญญาณภาพบนจอภาพ (แสดงดังภาพที่ 2)

เครื่อง MRI จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยและมีราคาแพง ในปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของระบบสมองและกระดูกสันหลัง การตรวจ MRI จะดีกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography, CT) อีกทั้งมีเทคนิคการตรวจพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (ดังภาพที่3) การตรวจหาระดับชีวเคมี เพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ (ดังภาพที่ 4) และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย (ดังภาพที่ 5) เป็นต้น MRI ยังมีประโยชน์มากในการตรวจผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสี ที่เกิดจากการใช้เอกซเรย์

                                         mr3t

   เครื่อง MRI รุ่น 1.5T

  mri3_3
ภาพหลักการทำงานของเครื่อง MRI

                     mri4           mri5

    การหาสารชีวเคมีเพื่อใช้แยกชนิดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติ     ภาพ MRI หลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย

  • ลักษณะการใช้งานกับผู้ป่วย / ใช้กับอวัยะส่วนใดได้บ้างในการตรวจด้วยเครื่อง MRI ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่อง ลักษณะคล้ายอุโมงค์ ซึ่งจะมีความกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร และจะมีการใส่อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างไป ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ เช่นการตรวจระบบสมอง จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณภาพครอบอยู่บริเวณศีรษะ กรณีตรวจกระดูกสันหลัง อุปกรณ์รับภาพจะวางอยู่ด้านหลังผู้ป่วย เป็นต้น ผู้ป่วยต้องนอนในอุโมงค์อย่างน้อย 30 นาที ถึงชั่วโมง ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ การตรวจจะแบ่งเป็นชุดๆ ในแต่ละชุดใช้เวลานาน 3-5 นาที โดยประมาณ ในบางการตรวจ เช่น ระบบหัวใจและช่องท้อง ผู้ป่วยจะต้องมีการกลั้นหายใจ ในแต่ละชุดประมาณ 15-20 วินาที และจะต้องมีการเตรียมตัวเฉพาะและการงดรับประทานยาประจำบางชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งขั้นตอนในวันที่มานัดตรวจการตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ระบบสมอง ระบบช่องท้องทั้งหมด ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เป็นต้น แต่จะมีข้อด้อยโดยเฉพาะการตรวจอวัยวะปอดและลำไส้
    • ประโยชน์ของการตรวจ MRI ที่มีต่อแพทย์
      การตรวจ MRI จะเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำและถูกต้องสูง มีประโยชน์มากสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยโรค เพื่อนำมาใช้การรักษาและติดตามผลการรักษา
    • การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง ทำให้ทราบความผิดปกติของร่างกายทั้งหมดหรือไม่

      ไม่ใช่ การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง จะเป็นการตรวจระบบอวัยวะหนึ่งระบบ เช่นการตรวจสมอง จะแสดงภาพของเนื้อเยื่อสมอง และอวัยวะอื่นๆ บริเวณสมอง จะไม่สามารถเห็นอวัยวะบริเวณช่องอกหรือช่องท้องได้ ดังนั้นการตรวจแต่ละครั้ง จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ที่ทำการรักษาก่อนเข้ารับการตรวจ MRI โดยแพทย์จะเขียนใบส่งตรวจให้ว่าต้องการตรวจอวัยวะส่วนใด พร้อมแจ้งประวัติการตรวจร่างกายและการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับรังสีแพทย์ ในการแปลผลภาพ MRI ใช้ประกอบ

      ข้อมูลอ้างอิงจาก 
      http://aimc.mahidol.ac.th/mrith.html